108oa free shipping

วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่นซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นในกรณีที่เราต้องการซื้ออุปกรณ์มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือเราต้องการอัพเกรดอุปกรณ์บางชิ้นภายในเครื่อง เช่น ต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิม หรือซื้อแรมมาเพิ่มให้ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และไม่ถูกหลอกในการเลือกซื้อ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็นแผนภาพดังต่อไปนี้

ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยเราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ
1. Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง
2. Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD
3. Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCAD และ 3D Studio Max ตารางข้างล่างจะเป็นตัวอย่างในการเลือกอุปกรณ์ในการใช้งาน

โดยแบ่งตามระดับผู้ใช้งานดังนี้

ระดับผู้ใช้
ซีพียู

ขนาดแรม (MB) ความเร็วแรม(MHz)

Basic User
Intel Celeron 400-500 MHz AMD K6 350-500 MHzCyrix MII 350 MHz ขึ้นไป
32 หรือ 64
66 หรือ 100
Power User
Intel Pentium III 400 MHz ขึ้นไป AMD K6 III 400 MHz ขึ้นไปCyrix M II 450 MHz หรือ Cyrix M III
64
100
Graphic User
Intel Pentium III 600 MHz ขึ้นไป หรือ AMD k7 600 ขึ้นไป
 128
100 หรือ 133

สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อเราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็ค ของเครื่อง ซึ่งเราควรดู สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้หน่วยประมวลผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHzฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่ใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนมีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นสเป็คตัวอย่างของเครื่องในใบเสนอราคาจากร้านค้าแห่งหนึ่ง 37,343 บาท หรือ2,059 บาท/เดือน x 24 เดือนIntel Pentium III 600MHzChipset Intel Mainboard64MB SDRAM (100MHz) Memory15GB Hard Disk Ultra DMA 661.44MB Floppy Disk DriveMedium Twer 250w ATX Case125 WATT Stereo Speaker50X CD-ROM Drive108 Key KeyboardPS/2 Mouse and Mouse pad15″ Digital Control Samsung Monitor

ตารางต่อไปนี้จะอธิบายรายละเอียดสเป็คของเครื่องจากโบร์ชัว

  • สเป็คของเครื่อง
  • คำอธิบาย
  • Intel Pentium III 600 MHz
  • ซีพียู Intel รุ่น Pentium III ความเร็ว 600 MHz
  • Chipset Intel Mainboard
  • ใช้ Mainboard ที่ทำงานด้วยชิบเซ็ต จาก Intel
  • 64 MB SDRAM (100 MHz) Memory
  • หน่วยความจำขนาด 64 MB ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz
  • 15 GB Hard Disk Ultra DMA 66
  • ฮาร์ดดิสก์ขนาด 15 GB ชนิดที่มี ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Ultra DMA 66 เมกะไบต์ต่อวินาที
  • 1.44MB Floppy Disk Drive ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วใช้งานกับแผ่นดิสก์เก็ต 1.44MB
  • Medium Tower 250w ATX Case
  • เคสขนาดกลาง 250 w ใช้กับบอร์ด ATX 120 Watts Stereo Speaker
  • ลำโพงสเตอริโอขนาด 120 วัตต์
  • 50X CD-ROM Drive เครื่องอ่านซีดีรอมความเร็ว 50 เท่า
  • 108 Key Keyboard คีย์บอร์ด 108 Key
  • PS/2 Mouse and Mouse pad เมาส์ขั้วต่อ PS/2 และแผ่นรองเมาส์
  • 15″Digital Control Samsung Monitor จอภาพขนาด 15 นิ้วระบบดิจิตอล ยี่ห้อ Samsung

ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างดังกล่าว การที่เราจะเข้าใจใบเสนอราคาเครื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ผู้ใช้ควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะใบเสนอราคาเครื่องโดยทั่วไปจะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ปัญหาพื้นฐานของผู้ใช้มือใหม่ที่มักจะสับสนว่า อะไรคือชื่อยี่ห้อ อะไรคือชื่ออุปกรณ์ เพราะมองในใบเสนอราคามีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การหาชื่ออุปกรณ์ ซึ่งชื่ออุปกรณ์จะใช้คำหลักๆเหล่านี้เสมอ เช่น Mainboard, RAM, Monitor, Keyboard, Mouse ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่มีเพิ่มเติม ก็มักจะเป็นยี่ห้อของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวอักษร) เป็นความเร็ว ความจุขนาดของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวเลข)ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างจากตัวอย่างที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ไม่มากแล้ว เราสามารถสอบถามจากร้านค้านั้นๆได้
ในปัจจุบันอุปกรณ์หรือเครื่องมีราคาไม่แน่นอน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องเราควรหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะซื้อรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร โดยการอ่านข้อมูลในหนังสือหรือการเดินสำรวจตามร้านต่างๆ พร้อมหยิบโบว์ชัวหรือใบเสนอราคา เพื่อนำมาเปรียบเทียบสเป็คและราคาว่าเป็นอย่างไรและราคานี้ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของการซื้อด้วย
ซึ่งในปัจจุบันเราแบ่งลักษณะของการซื้อคอมพิวเตอร์เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเครื่องแบรนด์เนม (Brand Name) ซึ่งเป็น แบรนด์เนมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่น Intel,Acer, IBM , Atec, Powell, Success PC เป็นต้น

ข้อดี คือการได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆถูกคำนวณและปรับแต่งด้วยวิศวกรที่ชำนาญ เพื่อให้ประสิทธิภาพเครื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการประกันและบริการหลังการขายเป็นอย่างดี (ในบางครั้งอาจมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องหรือโปรแกรมแก่ผู้ใช้ด้วย)และเมื่อเครื่องเสียจะซ่อมได้ง่ายเนื่องจากช่างรู้อุปกรณ์ต่างๆเป็นอย่างดี
ข้อเสีย คือเครื่องมีราคาแพงที่สุดและเลือกสเป็คตามต้องการไม่ได้ (เพราะว่าสเป็คได้ถูกกำหนดมาแล้วเป็นชุด) เนื่องจากการดูแลรักษาง่าย มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้น การซื้อเครื่องแบบนี้จะเหมาะกับผู้ซื้อไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องและมีทุนทรัพย์เพียงพอและเหมาะกับองค์กรที่ใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก
2.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบตามใบสั่งจากร้าน
ข้อดี
คือสามารถกำหนดสเป็คและรุ่นได้ ราคาถูก (ส่วนการรับประกันและบริการหลังการขายขึ้นกับทางร้าน) สามารถจำกัดงบได้
ข้อเสีย คือ การประกอบเครื่องอาจเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ตามที่เรากำหนดสเป็คไว้มาประกอบรวมกันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณและปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านั้นถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น เราอาจได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอหรือได้สินค้าปลอม และเมื่อเครื่องเสียต้องยกมาที่ร้านเอง
3.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบโดยนำมาประกอบเอง
ข้อดี คือ ได้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพเพราะเป็นอุปกรณ์ใหม่แกะกล่อง แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่สินค้าปลอม สามารถเลือกรุ่น และยี่ห้อได้เช่นเดียวกับแบบสั่งประกอบ แต่เลือกได้หลากหลายกว่า และอาจซื้อได้ถูกกว่าอีกด้วย
ข้อเสีย คือ ราคาโดยรวมอาจจะสูงกว่าซื้อตามใบสั่งบางรายการ เพราะอุปกรณ์ที่ได้จะดีกว่าและผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการประกอบเครื่องเองและติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง “คอมพิวเตอร์มีขายเยอะแยะ ทำไมต้องประกอบเอง” คำตอบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าเครื่องที่ประกอบใช้เองนั้นราคาประหยัดกว่า สามารถเลือกสเปคและยี่ห้ออุปกรณ์ได้ตามความพอใจ และที่สำคัญคือเลือกได้ทันสมัยกว่าเครื่องแบรนด์เนมทั่วไปอีกด้วย

การรับบริการหลังการขาย
สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจในการซื้อที่มีความสำคัญเท่า ๆ กับราคาและสเป็คก็คือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาในการทำงาน และทางร้านรับประกันเครื่อง เราสามารถรับบริการได้ตามการประกันนั้น เช่น การซ่อมแซม เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปแบบในการรับประกันในปัจจุบันนี้รูปแบบการรับประกันมี 2 แบบ คือ
1. การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาทางร้านยินดีไปรับมาซ่อมและนำส่งเมื่อซ่อมเสร็จแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยส่วนมากจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงและสินค้าที่รับประกันจะเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เช่น สินค้าที่มี Brand name ต่างๆ และมีราคาค่อนข้างแพง
2. การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาเราต้องนำเครื่องไปซ่อมเองที่ร้านและรับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ และบางครั้งอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย ซึ่งการรับประกันแบบนี้จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกทั่วไปหรือการซื้อเครื่องมาประกอบเองสำหรับการเลือกบริการหลังการขายนี้เราต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่อง และลักษณะของการใช้งานแบบไหน ถ้าเป็นการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิกหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อน (ระดับ Graphic User) เราควรเลือกรูปแบบการรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เพราะนอกจากที่เราจะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีแล้ว เมื่อเครื่องหรืออุปกรณ์มีการขัดข้องก็สามารถรับบริการหลังการขายตลอดระยะเวลาในการรับประกันได้ถ้าหากเราเลือกแบบไม่รวมค่าแรงเมื่อเครื่องขัดข้องหรือมีปัญหา เราจะต้องนำเครื่องไปที่ร้านเองทุกครั้งและเสียค่าใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในการใช้งานกว่า ความเสียหายอาจจะมากกว่าเครื่องที่ใช้งานแบบธรรมดา ระยะเวลาในการรับประกัน ในการรับประกันสินค้านั้นทางร้านจะกำหนดระยะเวลาในการประกันด้วย โดยส่วนมากเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการประกัน 1 ปี แต่ถ้าเราซื้อเครื่องแบบประกอบเราควรจะต้องทราบก่อนว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีการประกัน และมีระยะการรับประกันอย่างไร
ซึ่งรายละเอียดของการรับประกันอุปกรณ์แต่ละตัวแสดงดังตาราง
อุปกรณ์ ระยะเวลาในการประกัน*
ฮาร์ดดิสก์
3 ปีสำหรับตัวแทนภายในประเทศ (เช่น ตัวแทนจำหน่วยฮาร์ดดิสก์ Quantum และ Seagate เป็นต้น) 1 ปีสำหรับผู้นำเข้าที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศ

หน่วยประมวลผล (CPU)
3 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าภายในประเทศ1 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าโดยพ่อค้ารายย่อย

หน่วยความจำ (RAM)
รับประกัน 1 ปี (หรือตลอดอายุการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อของหน่วยความจำ)

เมนบอร์ด
รับประกัน 1 ปี

การ์ดแสดงผล
รับประกัน 1 ปี

แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)
รับประกัน 1 ปี

*ระยะเวลาในการรับประกันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรมีการเช็คดูก่อนเสมอดังนั้น เราควรจะรักษาสติกเกอร์ให้ดีเพราะถ้าหากสติกเกอร์มีรอยฉีกขาด (หรือในกรณีที่สติกเกอร์ลอกจะเกิดรอยเป็นตัวอักษรคำว่า ” Void”) หรือมีการแกะสติกเกอร์ออกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้นทางร้านจะถือว่าการรับประกันสิ้นสุดลง จากเหตุผลข้างต้นเราจึงควรตรวจสอบด้วยว่าผู้ขายได้ติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่เช่น ถ้าติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่หลุด หรือมีรอยได้ง่าย ในขณะที่เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือขณะย้ายเครื่องเราควรแจ้งให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ซึ่งตำแหน่งที่จะติดสติกเกอร์ควรเป็นตำแหน่งที่หลีกเลี่ยงการเสียดสีหรือการสัมผัสบ่อย ๆ
เมื่อเครื่องเสียหรือต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์เราควรแจ้งทางร้านที่รับประกัน เราไม่ควรจะถอดตัวถังของซีพียูเองเนื่องจากผู้รับประกันอาจจะไม่รับประกันเพราะมีรอยเสียหายหรือการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์

การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อเราได้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก่อนที่จะออกร้านเราควรเช็คหรือตรวจสอบเครื่องก่อน เพื่อตรวจดูว่าเครื่องที่ได้ตรงตามสเป็คและมีการชำรุดหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีดังนี้

1. การตรวจสอบโดยเปิดฝาเครื่อง โดยการเปิดฝาเครื่องออกมาเพื่อดูส่วนประกอบภายในเครื่องเป็นการตรวจที่ง่ายที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราทราบเพียงว่าส่วนประกอบของเครื่องมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถเช็คการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ ว่าทำงานได้จริงและมีความถูกต้องหรือไม่
2. การตรวจสอบด้วยวินโดวส์ โดยการใช้โปรแกรมพิเศษในการตรวจ (เช่น Norton Utilities) หรือใช้Control Panel ที่มีอยู่แล้วในเครื่องก็ได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้
3. การตรวจเครื่องด้วยไบออส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่องทุกครั้งที่เปิดเครื่องขึ้นมา เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนของอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและการ์ดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่หรือมีความขัดข้องในการทำงาน และเป็นวิธีที่เราสามารถเช็คว่า ได้เครื่องตามสเป็คหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดมากนักแต่ก็ทำการตรวจได้รวดเร็วดังนั้นจึงเหมาะในการตรวจดูเครื่องก่อนออกจากร้านสำหรับการตรวจเครื่องโดยใช้ไบออสนั้นทำได้ง่าย เพราะหลังจากที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาไบออสจะนำกระบวนการ POST (Power On Self Test) มาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องให้เราทราบ
ซึ่งถ้าหากเราพบว่าไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งกับทางร้านให้ทราบก่อนนำออกจากร้านเพื่อทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆในกรณีที่เราสังเกตไม่ทันไม่ควรปิดเครื่องในระหว่างที่วินโดวส์กำลังบู๊ต เพราะจะทำให้วินโดวส์มีปัญหาในการทำงานภายหลังได้ เราควรปิดเครื่องก่อนที่เครื่องจะเข้าสู้ขั้นตอนการบู๊ตของวินโดวส์หรือรอให้วินโดวส์บู๊ตเสร็จก่อนแล้วจึง Restart เพื่อเริ่มการสังเกตข้อความที่แสดงโดยไบออสอีกครั้ง

เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมา โดยทั่วไปที่หน้าจอของเครื่องจะปรากฏหน้าจอ 3 หน้าจอ โดยที่
หน้าจอแรก จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผล ที่หน้าจอแรกนี้จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผลที่ใช้ในเครื่อง ได้แก่ ยี่ห้อ, รุ่นของชิป CPU, ชนิดของ Slot ติดตั้ง, ขนาดของแรมบนการ์ด,เวอร์ชันของ BIOSที่ใช้บนการ์ด
หน้าจอที่สอง จะแสดงการตรวจสอบสถานะของเครื่อง (Power On Self Test) โดยเริ่มจากมีเสียง Beep ดัง 1 ครั้ง แสดงว่าเครื่องทำงานปกติ (แต่ถ้าได้ยินเสียงดังมากกว่า 1 ครั้ง ให้รีบปิดเครื่องทันที) จากนั้นเครื่องจะเริ่มตรวจนับแรมรุ่นและความเร็วของซีพียู ต่อไปก็จะทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ต่อไป
หน้าจอที่สาม จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ ที่หน้าจอนี้จะแสดงอุปกรณ์ เช่น รุ่นและความเร็วของซีพียู ขนาดของหน่วยความจำ Cache ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ รุ่นของฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ เป็นต้น

เครดิต : gotoknow