108oa free shipping

เปลี่ยนคอมเก่าให้เร็วขึ้นด้วย SSD

การเปลี่ยนคอมเก่าสำหรับใครที่มีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ครุ่นเก่าที่ใช้กันมานาน พอลงระบบปฏิบัติการใหม่ รู้สึกเครื่องอืด เปิดเครื่องก็ช้า เปิดโปรแกรมแต่ละทีก็นานจนลืมไหม  หลายคนแก้ปัญหาโดยเลือกวิธีเพิ่ม RAM แต่ก็ไม่ได้ผล จนอยากจะเปลี่ยนเครื่องใหม่กันเลย แต่ก็อาจจะคิดแล้วคิดอีก เพราะการเปลี่ยนเครื่องแต่ละครั้งก็กระเทือนงบในกระเป๋าพอสมควร  แต่หลายท่านน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของ SSD  (Solid State Drive) กันมาบ้าง  หากแต่เปลี่ยน HDD เป็น SSD ก็เรียกความเร็วของคอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค ให้เร็วขึ้นได้เกือบเท่าตัว  วันนี้เราจึงจะแนะนำวิธีเปลี่ยนคอมเก่าให้เร็วขึ้นด้วย SSD

ก่อนอื่นมาเริ่มทำความรู้จักกันก่อน SSD คืออะไร  มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้างและ มีกี่ประเภท และวิธีเลือกควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คของคุณ

SSD คืออะไร?

Solid State Drive (SSD)  คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งที่ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คเพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนกับฮาร์ดดิส

SSD  ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Flash Drive โดยใช้หน่วยความจำแบบ Flash Memory Chips ซึ่งเปลี่ยนมาจากจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสทำให้มีเร็วและเสถียรกว่า

SSD ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์ทำให้เร็วและทนทานต่อแรงกระแทกมากกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จานหมุน ด้วยขนาดที่เล็กไม่มีจานหมุนภายในทำให้กินไฟน้อย เมื่อนำไปลงวินโดว์จะทำให้ใช้เวลาเปิดเครื่องน้อยลง ปัจจุบัน SSD นั้นมีความจุตั้งแต่ 128GB ไปจนถึงหลาย TB

เปลี่ยนคอมเก่า

1. SSD แบบกล่อง ขนาด 2.5 นิ้ว เชื่อมต่อแบบ SATA 3.0 แบบดั้งเดิม ใช้ได้กับทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เก่า ถึงรุ่นใหม่

SSD แบบกล่อง ใช้เชื่อมต่อจะเป็นแบบ SATA สามารถถอดฮาร์ดดิสก์อันเก่าเสียบ SSD ใส่แทนได้เลย โดยมีความเร็วในการอ่านเขียนสูงสุดไม่เกิน 600 MB/s ซึ่งเร็วกว่าฮาร์ดดิกส์ปกติ 5-6 เท่า ขนาดเริ่มต้นก็จะอยู่ที่ 128 GB ไปจนถึงหลาย TB กันเลยทีเดียว

2. SSD แบบ M.2 SATA มาตราฐานใหม่ เล็กลง สะดวกขึ้น

แบบ mSATA

SSD แบบ กล่อง 2.5 นิ้ว SATA นั้นเริ่มยอดนิยมและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น แต่ยังติดปัญหาเรื่องขนาด ที่อัพเกรดได้ยากใน เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคส์สมัยนั้น ที่การจะใส่ SSD จะต้องกินพื้นที่เพิ่มเหมือนอัพเกรด HDD อีกชิ้น ทำให้การใส่ SSD จะต้องถอดไดร์ DVD ในโน๊ตบุคส์ออกไป ส่งผลให้การอัพเกรด SSD นั้นต้องถูกคิดค้นเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เล็กลงกว่าแบบกล่อง 2.5 นิ้ว จึงเกิด การเชื่อมต่อแบบพิเศษ นั่นคือ แบบ M.2 คือการเปลี่ยนรูปทรง SSD ให้เป็นไดร์ขนาดเล็ก ทำให้สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิม ไม่ต้องใช้สาย SATA ให้รกรุงรัง แค่จิ้มก็สามารถใช้งานได้  เพื่อใช้สำหรับ Ultra-thin Notebook ,Tablet PC ให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

แบบ M.2

แบบ M.2 คือ SSD อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้ออกแบบมาใหม่และการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ โดยมีความพิเศษ M.2 นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบ SATA อยู่หลายเท่าตัว

ขนาดของ SSD : SSD รุ่นนี้จะแบ่งขนาดออกเป็น 4 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ ขนาดยอดนิยม คือ 2280 ขนาดกลาง คือ 2260 ขนาดเล็ก 2242  โดยทั้งสามขนาด ใช้ได้กับพอร์ต M.2 SATA แต่ขนาดเล็กที่สุด คือ 2230 ซึ่งต้องใช้กับพอร์ต mSATA เท่านั้น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะบอกถึงความกว้างและความยาวของตัว SSD ตัวอย่างเช่น 2280 คือตัว SSD มีขนาดความกว้างอยู่ที่ 22 MM และความยาวอยู่ที่ 80MM นั่นเอง และจุดนี้คือสิ่งสำคัญเหมือนกัน เพราะเราต้องเช็คสล๊อตบนเมนบอร์ดของเราด้วยว่า รองรับความยาวสูงสุดที่เท่าไหร่ นิยมใช้ในโน๊ตบุ๊คและเมนบอร์ดรุ่นใหม่

การอัพเกรด SSD แบบ M.2 

ในโน๊ตบุคส์บางเครื่อง บางรุ่นที่เป็นรอยต่อระหว่าง เก่า ไป ใหม่ จะมีพอร์ต M.2 มาให้ แต่ต้องอ่านเสปคก่อนนะว่ารองรับ M.2 SATA หรือ M.2 NVMe กันแน่ หรือรองรับทั้งสอง

3. SSD แบบ M.2 พร้อมการเชื่อมต่อแบบใหม่ เทคโนโลยี M.2 PCI-E GEN 3.0 X4 NVME

            แบบ M.2 NVMe เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดทำหรับ SSD ในปัจจุบัน เมื่อผลตอบรับของการปรับเปลี่ยน SSD แบบกล่อง 2.5 นิ้ว เป็น M.2 SATA นั้นมีกระแสตอบรับที่ดีมาก โน๊ตบุคส์สามารถอัพเกรดได้ง่าย SSD ในคอมพิวเตอร์เริ่มใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงมีความต้องการอัพเกรดความเร็วของ SSD ให้เร็วขึ้นกว่านี้อีก แต่ยังติดอยู่ที่วิธีการเชื่อมต่อของ SSD ที่จะเป็น Interface แบบ SATA 3.0 โบราณอยู่ ซึ่งให้ความเร็วได้สูงสุดไม่เกิน 600MB/s เท่านั้น

จึงมีการคิดค้นเพื่อทำลายข้อจำกัดนี้ ด้วยการปรับเปลี่ยน Interface การเชื่อมต่อใหม่ นั่นคือการเชื่อมต่อแบบ PCI-e NVMe โดย ไม่ต้องทำการส่งข้อมูลผ่าน พอร์ต SATA แล้ว แต่ให้ทำการส่งข้อมูลไปยัง CPU ผ่านการเชื่อมต่อแบบ DMI Link ด้วยเลน ผ่านเลนเชื่อมต่ออย่าง PCI-express 3.0 x4 แทน ที่มีแบนด์วิธในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า SATA ถึงราวๆ 4.5 เท่า (SATA 3.0 รับส่งข้อมูล 600MB/s ส่วน PCI-e 3.0 x4 รับส่งข้อมูลสูงสุด 3.9GB/s) และเร็วกว่า HDD ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว

ซึ่งนับว่าเป็นการพังทลายกำแพงใหญ่สูงของวงการ SSD ได้เลย ทำให้ แบรนด์เจ้าพ่อด้านการผลิตชิป SSD อย่าง Samsung ได้สร้าง SSD ที่มีการอ่านเขียนข้อมูลสูงสุดในการเชื่อมต่อแบบ PCI-e 3.0 x4 ด้วยการอ่านเขียนข้อมูลสูงสุดถึง 3.4GB/s ซึ่งเกือบจะสุดเสปคของ PCI-e 3.0 x4 เลยทีเดียว ก่อนที่เหล่าแบรนด์ผลิต SSD เจ้าอื่นๆ ค่อยๆเปิดตัว SSD ราคาประหยัดกว่า ลงมา

จุดเด่นของ SSD เมื่อเปรียบเทียบกับ HDD

1.มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลสูงกว่าฮาร์ดดิส
2.มีขนาดเล็กเพราะไม่มีกลไกจานหมุน
3.ไม่มีเสียงดังจากการใช้งานเหมือนจานหมุนของฮาร์ดดิส
4.ทนต่อการตกจากที่สูง
5.ไม่ค่อยร้อน
6.กินไฟน้อย

จุดด้อยของ SSD

1.ราคาสูงกว่าฮาร์ดดิสทั่วไป
2.มีขีดจำกัดในการเขียนซ้ำข้อมูล

ลือก SSD ราคา ความจุ เท่าไรถึงพอเหมาะ?

  • 128GB ความจุเริ่มต้น จัดเป็น SSD ราคา ประหยัด เหมาะกับเครื่องที่เน้นใช้งานทั่วไป ลงวินโดวส์ โปรแกรมออฟฟิต และเก็บไฟล์รูป หนังอีกนิดหน่อย ไม่เหมาะกับการลงเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆ เหมาะกับการซื้อไปอัพเกรทพีซีเครื่องเก่า หรือมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลอยู่แล้ว
  • 256GB ความจุพื้นฐาน เป็นความจุที่เหมาะสมทั้งการใช้งานทั่วไป ลงเกมหรือโปรแกรมได้ประมาณนึง แต่ก็ไม่สามารถติดตั้งเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆได้มากนัก แนะนำว่าใช้งานคู่กับฮาร์ดดิสค์จะดีที่สุด ไม่ควรใช้ลูกเดียวจบเพราะอาจจะไม่พอใช้งาน
  • 512GB ความจุระดับกลาง เป็น SSD ราคา แนะนำ ความจุเหมาะสมของทีมงาน สำหรับเกมเมอร์ที่ใช้ SSD เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ลงเกม หรือโปรแกรมหนักๆได้เยอะ หรือจะสายตัดต่อก็ยังมีพื้นที่ไว้เก็บไฟล์งานได้ สามารถใช้ลูกเดียวจบได้โดยไม่ต้องมีฮาร์ดดิสค์มาเสริม แต่ถ้าท่านข้อมูลเยอะ ไฟล์งานมาก ก็อาจจะหาฮาร์ดดิสค์พกพามาสำรองข้อมูลเป็นพักๆ
  • 1TB ความจุน่าใช้ ลูกเดียวจบ ลงได้ทั้งเกม โปรแกรม ไฟล์งาน หนังรูปเพลง โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความจุ ใส่ในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีลูกเดียวไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้สำรองข้อมูลก็ยังได้ เหมาะกับท่านที่เน้นความสะดวกไม่อยากเก็บข้อมูลหลายที่ และไม่ต้องมาห่วงเรื่องความจุเต็ม
  • 2TB ความจุเหลือใช้ เหมาะกับท่านที่จบตรง SSD ราคา ไม่ใช่ปัญหา ลูกเดียวครบ เก็บเพลง หนัง งาน โปรแกรม เกม เป็นสิบเป็นร้อยก็ยังไหว แต่ต้องระวัง SSD บินนะครับ เพราะไม่อย่างงั้นชีวิตท่านจะสูญสลายไปด้วย ยังไงต่อให้ SSD ความจุสูง ก็ต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลด้วยนะ

การเลือกใช้งาน SSD บนคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค

อย่างที่รู้กันไปแล้วว่า SSD คืออะไรและมีแบบใดบ้างก็มาถึงการเลือกใช้งาน เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คควรมี SSD ติดตั้งไว้อย่างน้อย 1 ลูกเพื่อลง Windows หรือโปรแกรมต่างๆ สำหรับการใช้งานที่รวดเร็ว ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มีตัวเลือกการใช้งาน SSD ได้หลากหลายทั้งสล็อต Sata III , PCIe และ M.2 โดยทั้งนี้ก็ต้องดูตัวเมนบอร์ดด้วยว่ามีสล็อตใดเหลือให้ใช้งาน แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ยังไม่มีสล็อต M.2 ตัวเลือกก็จะเหลือแค่ Sata III และ PCIe สำหรับโน๊ตบุ๊คสล็อตที่รองรับการใช้งาน SSD จะมีเพียง 2 สล็อตคือ M.2 และ Sata III ปัจจุบันโน๊ตบุ๊คมักมีสล็อต M.2 มาให้ใช้งานอยู่แล้ว แต่หากผู้ใช้ต้องการใส่ SSD ใน โน้ตบุ๊ค รุ่นเก่าที่ไม่มีสล็อต SSD ก็จำเป็นต้องถอด HDD เก่าออกเพื่อติดตั้ง SSD ลงไปแทน หรือหากท่านใดต้องการใช้งาน SSD M.2 NVMe ที่มีความเร็วการอ่านเขียนสูงกว่า SSD ทั่วไปก็ต้องดูสเปคของเมนบอร์ดของท่านด้วยว่ารองรับหรือไม่ตัวโน๊ตบุ๊คเองก็เช่นกันเพราะในบ้างรุ่นอาจใส่ได้เพียง M.2 Sata III เมื่อติดตั้งเรียบร้อยสามารถเช็คความเร็ว SSD ได้ผ่านทางโปรแกรม CrystalDiskMark